นิยามที่ดีที่สุด
ยา "บวดหาย"

ชื่อยา "ทันใจ" และ "ปวดหาย" แต่เดิมนั้น เข้าข่ายเป็นการใช้ชื่อที่โอ้อวดสรรพคุณ
เนื่องจากผลการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ตามมาตรา 83(4) ที่ระบุว่า
"ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียนตำรับยา เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าเป็นยาที่ ใช้ชื่อโอ้อวด,ไม่สุภาพ หรืออาจทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง"
บริษัทผู้ผลิตจึงเปลี่ยนพยัญชนะ "น" เป็น "ม" กลายเป็น"ทัมใจ" ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมาย เพื่อคงสภาพแบรนด์เดิมที่ติดตลาดแล้วให้มากที่สุด เช่นเดียวกับที่ยาปวดหาย ต้องเปลี่ยน "ป" เป็น "บ" กลายเป็น "บวดหาย" ด้วยเหตุผลเดียวกัน ซึ่งดูผิวเผินอาจไม่ทราบด้วยซ้ำว่าชื่อยามีการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องตามที่กฏหมายยากำหนด ด้วยเทคนิคการปรับเปลี่ยนแบรนด์ที่แยบยล กอรปกับลักษณะรูปแบบตัวอักษร (font) ที่ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทำให้ทุกวันนี้ผู้บริโภคก็ยังเรียกหายา "ทันใจ" และ "ปวดหาย" จากร้านขายยาอยู่เช่นเดิม.


ชื่อยา "ปวดหาย" แต่เดิมนั้น เข้าข่ายเป็นการใช้ชื่อที่โอ้อวดสรรพคุณ
เนื่องจากผลการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ตามมาตรา 83(4) ที่ระบุว่า
"ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียนตำรับยา เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าเป็นยาที่ ใช้ชื่อโอ้อวด,ไม่สุภาพ หรืออาจทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง"
บริษัทผู้ผลิตจึงเปลี่ยนพยัญชนะ "ป" เป็น "บ" กลายเป็นยา "บวดหาย" ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมาย เพื่อคงสภาพแบรนด์เดิมที่ติดตลาดแล้วให้มากที่สุด ซึ่งดูผิวเผินอาจไม่ทราบด้วยซ้ำว่าชื่อยามีการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องตามที่กฏหมายยากำหนด ด้วยเทคนิคการปรับเปลี่ยนแบรนด์ที่แยบยล กอรปกับลักษณะรูปแบบตัวอักษร (font) ที่ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทำให้ทุกวันนี้ผู้บริโภคก็ยังเรียกหายา "ปวดหาย" จากร้านขายยาอยู่เช่นเดิม.