นิยามที่ดีที่สุด
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

(สำนวน) (กริยา.) ตำหนิผู้อื่นเรื่องใด แล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง.


ท้าวกุเรปัน บิดา อิเหนา ตกลงกับ ท้าวดาหา บิดา บุษบา ให้โอรสธิดาของตนหมั้นหมายกันไว้ แต่อิเหนาไปหลงรักจินตรา จึงขอยกเลิกการหมั้นหมาย ทั้งที่ยังไม่เคยเห็นหน้าบุษบา ท้าวดาหาโกรธ และเสียหน้า จึงประชดด้วยการยกบุษบาให้จรกา ขณะที่เทวดาผู้ทรงเป็นต้นวงศ์เทวาต้องการสั่งสอนอิเหนา จึงบันดาลให้วิหยาสะกำโอรสท้าวผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง เห็นรูปของบุษบา จนเกิดความหลงใหล ส่งทูตมาขอนางบุษบา แต่ถูกปฏิเสธ เพราะยกให้จรกาไปก่อนหน้าแล้ว จึงเกิดศึกชิงนางบุษบา อันเป็นที่มาของ "ศึกกะหมังกุหนิง" อิเหนาไม่อยากจากจินตรา แต่ต้องมาช่วยเมืองดาหา รบกับวิหยาสะกำแบบไม่เต็มใจ ด้วยขัดคำสั่งพระบิดาไม่ได้ ทั้งตำหนิวิหยาสะกำและจรการ ว่า หลงรัก รูปนาง อยู่อย่างนั้น จะพากัน มอดม้วย ไม่พอที่ เมื่อการศึกสงครามเสร็จสิ้น อิเหนาเป็นฝ่ายชนะวิหยาสะกำ ก็เข้าเมืองมาเฝ้าท้าวดาหาและประไหมสุหรี และพบนางบุษบาเป็นครั้งแรก ก็ถึงกับเพ้อออกอาการ กลายเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง"