ภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการทางสัทศาสตร์ ไม่ใช่ภาษาธรรมชาติ หากอธิบายการแปลงภาษาไทยเป็นภาษาลูด้วยโครงสร้างพยางค์ (syllable structure) จะสามารถแสดงได้ดังนี้
กำหนดให้
- Cᵢ = พยัญชนะต้น (initial consonant)
- Cⱼ = พยัญชนะสะกด (final consonant)
- Cᵢ(Cᵢ) = พยัญชนะควบกล้ำหรือไม่ควบกล้ำก็ได้ (optional cluster consonant)
- V = สระเสียงสั้น (short vowel)
- Vː = สระเสียงยาว (long vowel)
- V(ː) = สระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ (optional vowel length)
- ᵀ = วรรณยุกต์ (tone)
- [l] = พยัญชนะ [ล]
- [r] = พยัญชนะ [ร]
- [u(ː)] = สระ [อุ] หรือสระ [อู] ขึ้นอยู่กับ V(ː) ที่เป็นสระตั้งต้น
โครงสร้างพยางค์ของภาษาไทย
1) พยางค์เปิด = Cᵢ(Cᵢ)V(ː)ᵀ
2) พยางค์ปิด = Cᵢ(Cᵢ)V(ː)Cⱼᵀ
เมื่อแปลงเป็นพยางค์ของภาษาลู
1) พยางค์เปิด = [l]V(ː)ᵀ.Cᵢ(Cᵢ)[u(ː)]ᵀ
2) พยางค์ปิด = [l]V(ː)Cⱼᵀ.Cᵢ(Cᵢ)[u(ː)]Cⱼᵀ
3) Cᵢ เป็น [l] หรือ [r] และเป็นพยางค์เปิด = [s]V(ː)ᵀ.[lu(ː)]ᵀ
4) Cᵢ เป็น [l] หรือ [r] และเป็นพยางค์ปิด = [s]V(ː)Cⱼᵀ.[lu(ː)]Cⱼᵀ