นิยามที่ดีที่สุด
แสลง

"สแลง"
"แสลง"
ที่มา: บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"
ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 07.00-07.30 น.

คำว่า "สแลง" (อ่านว่า สะ-แลง) กับ "แสลง" (อ่านว่า สะ-แหฺลง)
เป็นคำคนละคำที่แตกต่างกันทั้งรูป การออกเสียง และความหมาย

"สแลง" (อ่านว่า สะ-แลง) เขียน ส เสือ สระแอ ล ลิง ง งู
หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนที่เข้าใจกันเฉพาะในคนบางกลุ่มหรือในชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ใช้ในภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ และไม่ใช้ในภาษาเขียน เช่นคำว่า "โบ๊ะ" "วีน" "เม้ง" เป็นคำ "สแลง"

คำว่า "สแลง" เป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษหมายถึง ภาษาที่มีความหมายเป็นพิเศษเฉพาะของคนบางกลุ่ม
ซึ่งต้องการพูดโดยไม่ให้คนที่อยู่นอกกลุ่มของตนเข้าใจ

"สแลง"
"แสลง"


"สแลง"
"แสลง"

ในภาษาไทยมีคำที่มีเสียงและความหมายคล้ายๆ กับคำว่า "สแลง" คือ

คำว่า "แสลง" (อ่านว่า สะ-แหฺลง) เขียน สระแอ ส เสือ ล ลิง ง งู
หมายความว่า ไม่ถูกกับโรค เช่น ถ้ากินของแสลงโรคจะกำเริบ หน่อไม้และแตงกวาแสลงโรคเกาต์ (อ่านว่า เก๊า)
"แสลง" อาจจะหมายความว่า ขัด ก็ได้ เช่น แสลงหู หมายถึง ขัดหู. แสลงตา หมายถึง ขัดตา

"สแลง"
"แสลง"